พันธ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์สามารถแบ่งออกเป็น
3 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ
พบขึ้นปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ในบริเวณค่อนข้างราบถึงเนินเขา
ในบางพื้นที่จะพบไม้ไผ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่มหนาแน่นมาก
มีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นแทรกอยู่บ้างเพียงประปราย พบมากในบริเวณตอนกลางติดกับชายฝั่งอ่างเก็บน้ำ
ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ แดง มะค่าโมง ประดู่ รกฟ้า มะกอกป่า กระโดน
ตะแบก ไผ่บง ไผ่รวก และไผ่ซาง มีสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในสังคมป่าชนิดนี้ได้แก่
ลิงกัง พญากระรอกดำ เม่นใหญ่แผงคอสั้น หมาจิ้งจอก หมาไน กระทิง ช้างป่า
เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกกะเต็นแดง นกโพระดกธรรมดา
นกแอ่นฟ้าหงอน นกกระรางสร้อยคอใหญ่ นกจับแมลงคอสีฟ้า เต่าเหลือง ตะกวด
จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ งูเหลือม งูหมอก งูปี่แก้วลายหัวใจ และกบหนอง เป็นต้น
ส่วนบริเวณยอดเขาหินปูนที่เป็นสังคมป่าชนิดนี้จะพบเลียงผาอาศัยอยู่
ป่าเต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง แดง ตะคร้อ ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวก เป้งดอย ปรงป่า และไผ่เพ็ก สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณสังคมพืชป่าเต็งรัง ได้แก่ กระรอกปลายหางดำ กระจงเล็ก กวางป่า นกกระรางหัวขวาน นกตีทอง นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกแซงแซวหางปลา ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหลากหลาย งูกะปะ เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบขึ้นประปรายอยู่ทั่วเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มักจะพบในบริเวณที่อยู่ทางด้านรับลมที่พัดพาฝนมาปะทะภูเขา หรืออยู่ริมสองฝั่งของลำธาร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนหิน มะเกิ้ม ยมหิน กระเบากลัก ยมหอม สมพง งิ้วป่า พลอง ขะเจ๊าะ กระโดน และเปล้า เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิงลม ค่างแว่นถิ่นเหนือ ชะนีมือขาว พญากระรอกบินหูแดง หมาไม้ อีเห็นธรรมดา เสือโคร่ง ไก่ฟ้าหลังเทา นกเขาเขียว นกตะขาบดง นกแก๊ก นกกก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ เต่าหก เหี้ย งูลายสาบคอแดง งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว งูหลาม และเขียดตะปาด เป็นต้น
บริเวณอ่างเก็บน้ำและลำห้วยต่างๆ สัตว์ป่าและสัตว์น้ำที่พบอาศัยอยู่ได้แก่ คางคกแคระ เขียดอ่อง กบทูด กบชะง่อนหินเมืองเหนือ ปาดลายหินเมืองเหนือ อึ่งแม่หนาว ปลากราย ปลากระสูบขีด ปลากดเหลือง ปลาชะโด ปลาเวียน ปลาปลาเลียหิน ปลากระทิงดำ เป็นต้น สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่ถูกราษฎรบุกรุกเข้าไปเพื่อปลูกพืชเกษตรภายหลังได้อพยพออกไปแล้ว และบริเวณริมอ่างเก็บน้ำที่ถูกตัดต้นไม้ออกหมด สัตวป่าที่อาศัยอยู่ได้แก่ เก้ง กระต่ายป่า อ้น นกยางกรอกพันธุ์จีนนกยางโทนใหญ่ นกกระแตแต้แว้ด นกกระปูดใหญ่ นกอีวาบตั๊กแตน นกตะขาบทุ่ง นกปรอดสวน กิ้งก่าแก้ว กิ้งก่าหัวแดง แย้ อึ่งอ่างบ้าน และอึ่งขาดำ เป็นต้น
ป่าเต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง แดง ตะคร้อ ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวก เป้งดอย ปรงป่า และไผ่เพ็ก สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณสังคมพืชป่าเต็งรัง ได้แก่ กระรอกปลายหางดำ กระจงเล็ก กวางป่า นกกระรางหัวขวาน นกตีทอง นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง นกแซงแซวหางปลา ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหลากหลาย งูกะปะ เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบขึ้นประปรายอยู่ทั่วเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มักจะพบในบริเวณที่อยู่ทางด้านรับลมที่พัดพาฝนมาปะทะภูเขา หรืออยู่ริมสองฝั่งของลำธาร พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ตะเคียนหิน มะเกิ้ม ยมหิน กระเบากลัก ยมหอม สมพง งิ้วป่า พลอง ขะเจ๊าะ กระโดน และเปล้า เป็นต้น สัตว์ป่าที่พบได้แก่ ลิงลม ค่างแว่นถิ่นเหนือ ชะนีมือขาว พญากระรอกบินหูแดง หมาไม้ อีเห็นธรรมดา เสือโคร่ง ไก่ฟ้าหลังเทา นกเขาเขียว นกตะขาบดง นกแก๊ก นกกก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ เต่าหก เหี้ย งูลายสาบคอแดง งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว งูหลาม และเขียดตะปาด เป็นต้น
บริเวณอ่างเก็บน้ำและลำห้วยต่างๆ สัตว์ป่าและสัตว์น้ำที่พบอาศัยอยู่ได้แก่ คางคกแคระ เขียดอ่อง กบทูด กบชะง่อนหินเมืองเหนือ ปาดลายหินเมืองเหนือ อึ่งแม่หนาว ปลากราย ปลากระสูบขีด ปลากดเหลือง ปลาชะโด ปลาเวียน ปลาปลาเลียหิน ปลากระทิงดำ เป็นต้น สำหรับในบริเวณพื้นที่ที่ถูกราษฎรบุกรุกเข้าไปเพื่อปลูกพืชเกษตรภายหลังได้อพยพออกไปแล้ว และบริเวณริมอ่างเก็บน้ำที่ถูกตัดต้นไม้ออกหมด สัตวป่าที่อาศัยอยู่ได้แก่ เก้ง กระต่ายป่า อ้น นกยางกรอกพันธุ์จีนนกยางโทนใหญ่ นกกระแตแต้แว้ด นกกระปูดใหญ่ นกอีวาบตั๊กแตน นกตะขาบทุ่ง นกปรอดสวน กิ้งก่าแก้ว กิ้งก่าหัวแดง แย้ อึ่งอ่างบ้าน และอึ่งขาดำ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น